animlสัตว์มีชีวิตใต้ท้องทะเล

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติของสัตว์ชีวิตใต้ท้องทะเล

ประวัติความเป็นมาของสัตว์มีชีวิตใต้ท้องทะเล      
           โครงการ BRT ได้พัฒนาชุดโครงการ "ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล : ขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้" เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและฝึกอบรมความหลากหลายทางชีวภาพของท้องทะเลของไทย ซึ่งยังขาดข้อมูลชีววิทยาพื้นฐานจำนวนมาก ในขณะที่ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลที่ยาว มีพื้นที่ทางทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันรวมกันประมาณ 420,000 ตร.กม. และมีแนวชายฝั่งยาวประมาณ 2,600 กม.  ก่อให้เกิดความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพทางทะเล และผลผลิตทางการประมงสูง อีกทั้งยังมีชายหาดที่ขาวสะอาด รวมทั้งแนวปะการังที่สวยสดงดงาม ซึ่งเป็นแหล่งดึงดูดการท่องเที่ยวทางทะเลได้เป็นอย่างดี  การศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพภาพทางทะเลจะทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานทางชีววิทยา  เพื่อการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพทางทะเลอย่างเหมาะสม
       ชุดโครงการนี้อยู่ภายใต้การบริหารจัดการโดยกลุ่มนักวิจัยจากหลากหลายสาขาวิชาการ มีระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ 2549-2551)  เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างบูรณาการทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ เพื่อสำรวจและประมวลองค์ความรู้พื้นฐานทางด้านทะเลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามตรวจสอบระบบนิเวศทางทะเลในระยะยาว เพื่อศึกษาปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ โดยเฉพาะอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งจะผลต่อการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยมีพื้นที่วิจัยอยู่ที่อุทยานแห่งชาติขนอมหมู่เกาะทะเลใต้ จ.นครศรีธรรมราช

       ชุดโครงการดังกล่าวนอกจากมีโครงการ BRT เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งแล้ว ยังได้สร้างหุ้นส่วนร่วมกับมูลนิธิโททาล (TOTAL FOUNDATION) และบริษัทโททาล อีแอนด์พี ไทยแลนด์ (TOTAL E&P THAILAND) ซึ่งประกอบธุรกิจด้านพลังงาน  และเป็นผู้ร่วมลงทุนสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย โดยบริษัทต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงบรรษัทหรือของธุรกิจ หรือ Corporate Social Responsibility (CSR) ด้วยการสนับสนุนทุนวิจัยร่วมกับโครงการ BRT ในการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทยอย่างยั่งยืน

   

  

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

สถานที่

1. สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ตามปกติแล้วระดับน้ำของทะเลจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นประจำทุกวัน คือ วันละ ครั้งหรือสองครั้ง เนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ โดยเราทราบได้จากการสังเกตในเวลาที่มี น้ำขึ้น-น้ำลง ตามชายฝั่งหรือตามเกาะต่าง ๆ
โดยทั่ว ๆ ไปบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง จะมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดอาศัยอยู่มากมาย ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง และสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยน แปลงอยู่ตลอดเวลา บริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลงนั้น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งเราสังเกตเห็นได้อย่างเด่นชัด เช่น หาดทราย หาดหิน และหาดโคลน เป็นต้น

สำหรับส่วนที่จัดแสดงไว้ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มของสถาบันวิทยาศาสตร์ทาง ทะเล บางแสนนี้ เป็นบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง บริเวณที่เป็นหาดหิน และมีน้ำขังอยู่ตามแอ่งหิน ซึ่งลักษณะเช่นนี้เรียกกันทั่วไปว่า "แอ่งน้ำขึ้น-น้ำลง" (Tidal Pool) ตามธรรมชาติตามแอ่งน้ำขึ้น-น้ำลงเช่นนี้จะพบ กุ้ง ลูกปลาบางชนิด หอยนางรม ปูเสฉวน เม่นทะเล ดอกไม้ทะเล ดาวทะเล ฯล


 2. ปลาในแนวปะการัง บริเวณแนว ปะการังนับเป็นแหล่งที่มีความ อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของทะเล เพราะสัตว์ทะเลหลาย ชนิดอาศัยบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบ ซ่อนภัยและเป็นแหล่งอาหาร นอกจากนี้แล้ว ยังใช้เป็นที่สำหรับผสมพันธุ์ วางไข่ และเจริญเติบ โตของสัตว์ตัวอ่อนอีกด้วย สำหรับปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นปลาที่มีขนาดและมีสีสันสวย งาม เช่น ปลาสลิด ปลาการ์ตูน ปลาเขียวพระอินทร์ ปลาผีเสื้อ และปลาโนรี เป็นต้น  


3. การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตในทะเลเหมือนกับสิ่งมีชีวิตบน บกคือ มีการอยู่ร่วมกัน และพึ่งพาอาศัยกัน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การอยู่ร่วมกันแบบที่ เรียกว่า "ซิมไบโอซิส" (Symbiosis) ซึ่งหมายถึงการที่สิ่ง มีชีวิตสองชนิดอาศัยอยู่รวมกัน หรืออยู่ ปนกันโดยต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ซึ่ง กันและกัน เช่น ปลาการ์ตูน หรือ ปลาอินเดียแดงสามารถอยู่ร่วมกับ ดอกไม้ทะเล (sea anemone) ได้ โดยที่ปลา เหล่านี้จะอาศัยดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบ ภัยและสืบพันธุ์ ส่วนดอกไม้ทะเลจะได้รับ ประโยชน์จากปลาโดยการล่อเหยื่อหรือชัก นำเหยื่อให้เข้ามาใกล้พอที่ดอกไม้ทะเล จะจับเป็นอาหารได้
ดอกไม้ทะเลมีหนวดอยู่เป็นจำนวนมากและ ที่บริเวณปลายหนวดของมันจะมีเข็มพิษหรือ ที่เรียกว่า "นีมาโตซีส" (Nematocyst) อยู่เป็นจำนวน มาก นอกจากเข็มพิษนี้แล้ว บริเวณหนวดของดอกไม้ ทะเลอาจ มีเมือกเหนียว ๆ อยู่ด้วย เวลาที่ปลาว่ายเข้า มาใกล้ตัวมันจะใช้หนวดพันปลาไว้ แล้ว จะปล่อยเข็มพิษ ทำให้ปลาสลบหรือช็อคตายแล้ว กินปลานั้นเป็นอาหาร
สำหรับเข็มพิษของดอกไม้ทะเลเหล่านี้ไม่ เป็นอันตรายต่อปลาการ์ตูน ปลาอินเดียแดงหรือปลาที่ อยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลเหล่านี้ เพราะปลาดัง กล่าวมีสารเคมีที่มีลักษณะเป็นเมือกหุ้ม ตัวอยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นลักษณะที่ธรรมชาติสรรค์ สร้างให้มันอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยทั่ว ๆ ไปดอกไม้ ทะเลอาจไม่มีพิษกับคน ยกเว้นในกรณีของ บางคนอาจมีอาการแพ้เกิดขึ้นถ้าไป สัมผัสเข้า โดยจะเกิดผื่นแดง และมีอาการคันหรือ บวมได้ 


4. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็มเป็น สัตว์โครงร่างแข็งที่ไม่ใช่กระดูกอยู่ภายในลำตัว และ บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก เพื่อป้องกัน อันตราย และใช้ยึดของกล้ามเนื้อ เช่น หอย หมึก กุ้ง หนอนทะเล และ ฟองน้ำ ว่าเป็น สัตว์กลุ่มใหญ่ในทะเลและมหาสมุทร สัตว์จำพวกนี้ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปทั้งขนาด รูปร่าง ที่ อยู่อาศัย และอุปนิสัยในการกินอาหาร บางชนิดมี อันตราย แต่หลายชนิดก็มีประโยชน์ และมีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจ สัตว์เหล่านี้ ได้แก่ สัตว์ในไฟลั่ม โพริเฟอร์รา (Phylum Porifera) ไฟลั่มซีเลนเท อราต้า (Phylum Coelenterata) ไฟลั่มมอลลัสกา (Phylum Mollusca) ไฟลั่มอาร์โทรโปดา (Phylum Arthropoda) และ ไฟลั่มเอคไคโนเดิร์มมาต้า (Phylum Echinodermata) เป็นต้

5. ปลาเศรษฐกิจ ในทะเลและมหาสมุทรเขต ร้อนเป็นบริเวณที่ค่อนข้างมีปลาชุกชุม และปลาหลายชนิดเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับประเภทของปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ 


6. ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ ปลาบางชนิดมีรูปร่างแปลก โดยมีรูปร่างหรือสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อหลบหลีกศัตรูหรือพรางตาเหยื่อ ปลาบางจำพวกนอกจากมีรูปร่างแปลกแล้ว ยังมีสีสันสวยงามและมีพิษด้วย ปลาประเภทนี้มีประมาณ 500 ชนิด รวมถึงปลาบางชนิดที่รับประทานแล้วเป็นพิษต่อมนุษย์
โดยทั่วไปปลาทะเลต่าง ๆ นั้นมีรูปร่างผิดแปลกแตกต่างกันไปตามอุปนิสัยการกินอาหารการหลบซ่อนตัว หรือการอยู่อาศัย บางชนิดมีรูปร่างแบนลง เพื่อให้เหมาะสมกับการหากินบริเวณหน้าดิน เช่น ปลากระเบน ปลาลิ้นหมา ปลาวัว ปลาไหลทะเล ปลาปักเป้า ปลาสิงโต ปลาเหาฉลาม ปลาฉลามกบหรือฉลามแมว ปลาอุบ และ ปลากะรังหัวโขน เป็นต้น

7. ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร ในทะเลและ มหาสมุทรมีปลาขนาดใหญ่หลายชนิดอาศัยอยู่ มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ปลาที่มีขนาดเล็กรวมทั้งพวกที่มีสีสันสวยงามหลายพวก มักจะอาศัยอยู่ใกล้ฝั่งหรืออยู่ในที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีที่กำบังและหลบภัย อาศัยอยู่มากในช่วงความลึกไม่เกิน 1,000 เมตร จากผิวน้ำ ได้แก่ ปลาที่เรารู้จักดี เช่น ปลาโอ ปลากะพงขาว ปลาหมอทะเล ปลาอินทรีย์ ปลากระเบน ปลาหมอทะเล ปลาฉลาม เป็นต้น ปลาอีกหลายชนิดอาศัยอยู่ลึกลงไปเกือบถึงพื้นสมุทร ซึ่งลึกประมาณ 2,000 เมตร เช่น ปลาคอด เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีรักษา


โน๊ตจากภาพ: Tunicates ที่เดินทางข้ามมหาสมุทรจากประเทศญี่ปุ่นสู่ทวีปอเมริกาเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2513

Source: Popular Science May 2011

ทะเลของเราทุกวันนี้กำลังตกอยู่ในปัญหา ประชากรปลาของโลกลดลงไปถึงเกือบร้อยละ 90 ปะการัง
ทั่วโลกตายไปถึงหนึ่งในสาม เขตมรณะในมหาสมุทธ หรือ Dead Zone ขยายพื้นที่ไปตามบริเวณต่างๆ
ทั่วโลก แม้ว่าสถานการณ์ในตอนนี้จะอยู่ในขั้นวิกฤติ แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ เหตุผลที่ทำให้มนุษยชาติ
ยังคงมีความหวังในการที่จะหาทางแก้ไขปัญหา และกู้มหาสมุทรของเรากลับคืนมา OSTC ขอนำเสนอ
บทความชุด “7วิธี รักษาท้องทะเล” เพื่อให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงปัญหา และวิธีการแก้ไข ก่อนที่จะเสีย
ทรัพยากรทะเลอย่างไม่มีวันย้อนคืนกลับมา

1. หยุดเติมสารพิษลงสู่ท้องทะเล (คลิ๊กเพื่อย้อนอ่านอันดับ 1)

2. เพิ่มราคาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (
คลิ๊กเพื่อย้อนอ่านอันดับ 2)

3. ซ่อมแซมวัฏจักรของน้ำ (
คลิ๊กเพื่อย้อนอ่านอันดับ 3)



4. หยุดยั้งพันธุ์พืชและสัตว์ผู้บุกรุก

ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ถ้าคุณดึงเชือกที่แช่อยู่ในน้ำบริเวณท่าเรือชายฝั่งของแหลม Cape Cod คุณจะพบหอยแมลงภู่ เพรียง และสาหร่ายเกาะติดขึ้นมากับเชือกเป็นจำนวนมาก แต่ในวันนี้ คุณจะพบเพียงแค่เพรียงจำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง หรือ  Tunicate เกาะอยู่รอบๆ เชือกเท่านั้น Tunicate เป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งที่กำลังบุกรุกไปยังท้องทะเลทั่วโลก สัตว์จำพวกนี้แพร่กระจายไปทั่วโลกโดยการติดไปกับเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ นอกจาก Tunicate แล้ว พันธุ์พืชและสัตว์ผู้บุกรุกยังมี Lionfish ที่พบได้มากตามเขตตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐฯ และ Mangrove tree ในหมู่เกาะฮาวาย พันธุ์พืชและสัตว์จำพวกนี้กำลังก่อปัญหาให้กับพันธุ์พืชและสัตว์ท้องถิ่น ทั้งในด้านการแย่งชิงแหล่งอาหาร การรบกวนระบบการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตในเขตนั้นๆ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสัตว์และพืชท้องถิ่น

Tunicate เป็นตัวอย่างชัดเจนของพันธุ์สัตว์ผู้บุกรุกที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม Mary Carman นักวิจัยจากสถาบัน  Woods Hole กล่าวว่า มีการค้นพบการแพร่กระจายพันธุ์สัตว์ประเภทนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ที่เขต New England ประเทศสหรัฐฯ โดยผ่านเรือขนส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่น Tunicate บางสายพันธุ์บุกรุกแนวหญ้าทะเลและขับไล่หอยเชลล์ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจหลักของท้องถิ่นนั้นออกไปจากพื้นที่ การกำจัด Tunicate เป็นไปได้ยาก เพราะหากไม่สามารถกำจัด Tunicate ออกไปจากพื้นที่ได้อย่างสิ้นเชิง Tunicate ที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดก็สามารถเติบโตและแพร่กระจายต่อได้อย่างรวดเร็ว

Jame Carlton จาก Williams College กล่าวว่า การระงับการแพร่กระจายของสัตว์จำพวกนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากๆ แม้ในบางครั้งที่การแพร่กระจายถูกค้นพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งก็มิได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การกำจัด Tunicate ยังทำได้ยาก ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ.2543 นักประดาน้ำคนหนึ่งได้สังเกตุพบพันธุ์สาหร่ายผู้บุกรุกที่เพิ่งถูกทิ้งลงไปในทะเลสาปของเขต San Diego ประเทศสหรัฐฯ ผู้รับผิดชอบต้องใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 6 ปี และงบประมาณอีกจำนวน 7 ล้านเหรียญสหรัฐในการกำจัดพันธุ์สาหร่ายผู้บุกรุกไปได้

วิธีลดปริมาณพันธุ์พืชและสัตว์ผู้บุกรุกที่ดีที่สุดสามารถทำได้โดยการป้องกันไม่ให้พันธุ์พืชและสัตว์เหล่านั้นเข้ามาในพื้นที่ตั้งแต่ตอนแรก โดยส่วนมากพันธุ์พืชและสัตว์ผู้บุกรุกจะติดมากับน้ำใต้ท้องเรือขนส่งสินค้าที่เดินทางมายังประเทศสหรัฐฯ จำนวนประมาณ 1 แสนลำในทุกๆ ปี ในตอนนี้  EPA และ Coast Guard  กำลังร่างเกณฎ์บังคับเกี่ยวกับน้ำใต้ท้องเรือ โดยการกำหนดระดับจำนวนพันธุ์สัตว์และพืชที่ติดมากับน้ำใต้ท้องเรือ ในขณะเดียวกัน บริษัทต่างๆ ก็กำลังพัฒนาวิธีการจัดการกับน้ำใต้ท้องเรือเพื่อให้ผ่านเกณฎ์มาตรฐานดังกล่าว ตัวอย่างวิธีการจัดการ เช่น การใช้เครื่องกรองน้ำที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และการฉายรังสีอัลตราไวโอเลต แต่สำหรับพืชและสัตว์ผู้บุกรุกที่ตั้งรกรากแล้ว สิ่งที่ทำได้คือการจำกัดจำนวนของพืชและสัตว์นั้นๆ การบริโภคพืชและสัตว์นั้นๆ ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง โดยในปี พ.ศ. 2552 The National Oceanic and Atmospheric Administration ได้จัดทำโครงการส่งเสริมให้ชาวประมงและผู้ประกอบธุรกิจอาหารนำ Lionfish มาปรุงเป็นอาหาร

5. ปกป้องแนวปะการัง (คลิ๊กเพื่อย้อนอ่านอันดับ 5)

6. จับปลาอย่างฉานฉลาด (คลิ๊กเพื่อย้อนอ่านอันดับ 6)

7. เพิ่มเติมความรู้ให้แก่ประชาชน (คลิ๊กเพื่อย้อนอ่านอันดับ 7)

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

สัตว์มีชีวิตใต้ท้องทะเล

รูปภาพ ชีวิตสัตว์น้ำ โลกใต้ท้องทะเล            



















สิ่งมีชีวิตหลากหลายใต้ท้องทะเลลึก
     หลายๆ คนอาจคิดว่าโลกยุคปัจจุบันมีสิ่งมีชีวิตหลงสำรวจอยู่น้อยเต็มที นั่นเป็นความเข้าใจผิด เพราะ ยังมีสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์ ยังไม่เคยเห็นอีกมากมาย โดยเฉพาะใต้ท้องทะเลลึก พื้นผิวโลกเป็นมหาสมุทรถึง 70% และมีความลึกโดยเฉลี่ย 4 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับที่อื่นๆ แล้วใต้ท้องทะเลลึกเป็นบริเวณ ที่หนาวเย็นมืดทึบและมีออกซิเจนน้อย สภาพแวดล้อมจึงเอื้อ ต่อการมีชีวิตน้อยมาก แต่ที่นี่กลับมีสิ่งมีชีวิต ที่หลากหลายและมีรูปลักษณ์แปลกๆ ท้องทะเลลึกมีสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ไปจนถึงขนาดเล็ก ตั้งแต่วาฬสเปิร์ม ปลาหมึกยักษ์ อาร์ชิทิวทิส ขนาด 13 เมตร ปลาหมึกยักษ์คอลอสซอล ขนาด 15 เมตร ปลาฉลามสลีปเปอร์ ไปจนกระทั่งถึง ปะการัง ปลาหมึกขนาดเล็ก หนอน และแบคทีเรีย
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์นานาชาติกว่า 70 ประเทศ กำลังสำรวจสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร ตั้งแต่ขั้วโลกเหนือ ถึงขั้วโลกใต้      เพื่อทำฐานข้อมูลตามโครงการ "Census of Marine Life" (CoML) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2000 การสำรวจสิ่งมีชีวิต ในมหาสมุทรครั้งใหญ่นี้ จะใช้ระยะเวลา 10 ปี เพื่อประเมินและอธิบายความหลากหลาย การกระจายและความอุดมสมบูรณ์ ของสิ่งมีชีวิต ในมหาสมุทร ทั้งในอดีตปัจจุบันและ อนาคต ก้นทะเลลึกมีความลึกลับหลายอย่างที่มนุษย์เพิ่งจะรู้ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีสัตว์ทะเล อาศัยอยู่ในบริเวณปล่องน้ำพุร้อน (Hydrothermal vent) (ส่วนใหญ่อยู่ในระดับความลึก 2,100 เมตร) ซึ่งอุดมไปด้วยแร่เหล็กและกำมะถัน ทว่าที่นี่เป็นที่อยู่ของสัตว์หลายชนิด เช่น แบคทีเรีย หอยกาบ ปลารูปร่างประหลาด และ หนอนซึ่งมีลำตัวยาวมากกว่า 2 เมตร สัตว์ขนาดเล็กที่นี่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์หวังว่า จะผลิตยาจากสัตว์เล็กๆ เหล่านี้รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย ก้นทะเลลึกยังเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัยของปะการัง เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ ปะการังในเขตหนาว ซึ่งอยู่ลึกถึง 6,000 เมตร และมีอุณหภูมิของน้ำเพียง 2 องศาเซลเซียส เท่านั้น ซึ่งต่างจากปะการัง ในเขตร้อนซึ่งอยู่ในน้ำตื้น และ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ ได้พบปะการังน้ำลึก ตั้งแต่ไอร์แลนด์ไปจนกระทั่ง ถึงนิวซีแลนด์ แต่น่าเสียดายมันกำลัง ถูกทำลาย โดยเรือประมงน้ำลึก เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมนานาชาติ "ชีววิทยาท้องทะเลลึก ครั้งที่ 11 " ที่เมืองเซาธ์แธมตัน สหราชอาณาจักร การประชุมครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอ ภาพสัตว์ใต้ทะเลลึก หลายชนิด ซึ่งสัตว์บางชนิดน่าตื่นตาตื่นใจมาก ดังเช่น
หนอนทะเล (Annelid Worm)หนอนทะเลเป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัม แอนเนลิดา (Phylum Annelida) ไฟลัมนี้มีหนอนมากถึง 15,000 สปีซีส์ ที่รู้จักกันดีคือ ไส้เดือนและปลิง ในภาพคือหนอนทะเลหนึ่งใน 120 สปีซีส์ ในจีนัส เนออิส (Nereis) คลาสโพลีคีตา (Polychaeta) นักวิทยาศาสตร์พบมันในบริเวณน้ำพุร้อนก้นทะเล ลักษณะเด่นของหนอนชนิดนี้ คือ รูปร่างหน้าตาที่ประหลาดและดูน่าเกลียดน่ากลัว


ปลาหมึกลูกหมู (Piglet Squid)
ปลาหมึกลูกหมูมีชื่อสามัญว่า Deep Sea Cranchid Squid เป็นปลาหมึกขนาดเล็ก อยู่ในจีนัสเฮลิคอเครนเชีย (Helicocranchia) คลาส เซฟาโลโพดา (Cephalopoda) ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) นักวิทยาศาสตร์ คาดว่า มีปลาหมึกลูกหมู ในจีนัสเฮลิคอเครนเชีย ประมาณ 14 สปีซีส์ แต่ปัจจุบันรู้จักกันเพียง 3 สปีซีส์ ในภาพเป็น สปีซีส์ pfefferi ปลาหมึกลูกหมู อาศัยอยู่ใต้ทะลึก ถึง 4,000 เมตร ลักษณะเด่นของมันคือ มีรูปร่างหน้าตา คล้ายการ์ตูน หนวดตั้งตรง บนหัวคล้ายกับผม ซึ่งต่างจากปลาหมึกชนิดอื่นๆ และ มีครีบคล้ายใบพัด ที่ปลายลำตัว


ปลาหมึกดัมโบ (Dumbo Octopus)
ปลาหมึกดับโบเป็นปลาหมึกสปีซีส์ สโตทูธีส ไซเทนซิส Stauroteuthis syrte หนึ่งในสองสปีซีส์ ของจีนีส สโตทูทีส (stauroteuth) จีนัสเดียวในแฟมิลี สโตทูไทได (Stauroteuthidae) คลาสเซฟาโลโพดา ไฟลัมมอสลัสกา มัน มีรูปร่างคล้ายระฆัง ลักษณะเด่นคือ มีตุ่มหรือ หน่อจำนวนมาก อยู่ที่หนวดหรือแขน ซึ่งผลิตแสงสว่างได้ และ มีหูคล้ายครีบ อยู่เหนือดวงตา




ปลาหมึกแวมไพร์ (Cirrate Octopod)

ปลาหมึกแวมไพร์เป็นปลาหมึกสปีซีส์ อินเฟอร์นาลิส (Vampyroteuthis infernalis ) ซึ่งหมายถึง "ปลาหมึกแวมไพร์จากนรก" อยู่ในจีนัสแวมไพร์ทูทีส (Vampyroteuthis) แฟมีลี แวมไพร์โรทูไทได (Vampyroteuthidae) คลาสเซฟาโลโพดา ไฟลัมมอสลัสกา ปลาหมึกชนิดนี้อาศัยอยู่ในระดับน้ำ ลึก 300-3,000 เมตร ลักษณะเด่นของมันคือ มีดวงตาสีน้ำเงิน ผิวหนังสีน้ำตาลแดง มีพังผืดเหมือนกระโปรงรอบๆ ขา และมีหูคล้ายครีบเหนือดวงตาเช่นเดียวกับปลาหมึกดัมโบ นอกจากนั้นมันยังมีอวัยวะผลิตแสงสีน้ำเงิน ซึ่งทำให้ศัตรูมองเห็นมันได้ยาก


ไซโฟโนฟอร์ (Siphonophore)
ไซโฟโนฟอร์เป็นสัตว์ทะเลในไฟลัมไนเดเรีย (cnidaria) คลาสไฮโดรชัว (Hydrozoa) มันเป็นญาติกับแมงกะพรุน ลักษณะเด่นของมันคือไม่ใช่สัตว์ทะเลที่อยู่เดี่ยวๆ แต่มีโคโลนี (colony) หรือมีสัตว์ทะเลอื่นๆ ในสปีซีส์เดียวกันมาอาศัยรวมกันอยู่ด้วย และยังพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น ปกป้องโคโลนีจากการโจมตีของศัตรู และรวมกันโจมตีเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่า ตัวอย่าง ของการอยู่รวมกันเป็นโคโลนี คือ มดและผึ้ง ไซโฟโนฟอร์ที่รู้จักกันดีที่สุดคือ "Portuguese man - of - war " ซึ่งมักเข้าใจผิดว่าเป็นแมงกะพรุน



      การสำรวจใต้ทะเลลึกเริ่มขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 โดยยานดำน้ำ ยูเอส โอเชียนโอกราฟเฟอรส์ ซึ่งสามารถดำน้ำได้ลึก 1,000 เมตร ต่อมาในทศวรรษที่ 1960 เครื่องดำน้ำลึกของสวิตเซอร์แลนด์ สามารถดำได้ลึกถึง 11 กิโลเมตร ที่มาริอานัส เทรนช์ (Marianas trench ) ก้นทะเลที่ลึกที่สุดในโลก นอกชายฝั่งฟิลิปปินส์
      ทศวรรษที่ 1990 ญี่ปุ่นพัฒนายานดำน้ำรุ่นใหม่เป็นหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำที่ควบคุมด้วยรีโมท คอนโทรล หุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "ไคโกะ" ซึ่งสำรวจก้นทะเลที่มาริอานัส เทรนช์ เมื่อปี 1995 แต่สูญหายไป ไคโกะจะถูกทดแทนด้วย "อัลวิน"
     ในปี 2009 ซึ่งจะสามารถสำรวจก้นทะเลได้ครอบคลุมถึง 99% นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ยานสำรวจใต้น้ำในอนาคตอันใกล้นี้จะเคลื่อนที่เหมือนเครื่องบินเจ็ท บางชนิดจะเคลื่อนที่ได้เหมือนปลา และนักวิทยาศาสตร์จะสามารถสร้างเครือข่ายหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำรวมทั้งห้อง แล็บอัตโนมัติที่ก้นทะเลลึกได้ด้วย ซึ่งจะทำให้มนุษย์สามารถศึกษาสิ่งมีชีวิตในทะเลลึกได้มากขึ้นกว่าที่เป็น อยู่หลายเท่า