animlสัตว์มีชีวิตใต้ท้องทะเล

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สถานที่

1. สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ตามปกติแล้วระดับน้ำของทะเลจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นประจำทุกวัน คือ วันละ ครั้งหรือสองครั้ง เนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ โดยเราทราบได้จากการสังเกตในเวลาที่มี น้ำขึ้น-น้ำลง ตามชายฝั่งหรือตามเกาะต่าง ๆ
โดยทั่ว ๆ ไปบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง จะมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดอาศัยอยู่มากมาย ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง และสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลงนั้น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งเราสังเกตเห็นได้อย่างเด่นชัด เช่น หาดทราย หาดหิน และหาดโคลน เป็นต้น

สำหรับส่วนที่จัดแสดงไว้ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล บางแสนนี้ เป็นบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง บริเวณที่เป็นหาดหิน และมีน้ำขังอยู่ตามแอ่งหิน ซึ่งลักษณะเช่นนี้เรียกกันทั่วไปว่า "แอ่งน้ำขึ้น-น้ำลง" (Tidal Pool) ตามธรรมชาติตามแอ่งน้ำขึ้น-น้ำลงเช่นนี้จะพบ กุ้ง ลูกปลาบางชนิด หอยนางรม ปูเสฉวน เม่นทะเล ดอกไม้ทะเล ดาวทะเล ฯลฯ
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011548.JPG


2. ปลาในแนวปะการัง บริเวณแนวปะการังนับเป็นแหล่งที่มีความ อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของทะเล เพราะสัตว์ทะเลหลาย ชนิดอาศัยบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบ ซ่อนภัยและเป็นแหล่งอาหาร นอกจากนี้แล้ว ยังใช้เป็นที่สำหรับผสมพันธุ์ วางไข่ และเจริญเติบ โตของสัตว์ตัวอ่อนอีกด้วย สำหรับปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นปลาที่มีขนาดและมีสีสันสวย งาม เช่น ปลาสลิด ปลาการ์ตูน ปลาเขียวพระอินทร์ ปลาผีเสื้อ และปลาโนรี เป็นต้น  

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011549.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011551.JPG


3. การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตในทะเลเหมือนกับสิ่งมีชีวิตบน บกคือ มีการอยู่ร่วมกัน และพึ่งพาอาศัยกัน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การอยู่ร่วมกันแบบที่ เรียกว่า "ซิมไบโอซิส" (Symbiosis) ซึ่งหมายถึงการที่สิ่ง มีชีวิตสองชนิดอาศัยอยู่รวมกัน หรืออยู่ ปนกันโดยต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ซึ่ง กันและกัน เช่น ปลาการ์ตูน หรือ ปลาอินเดียแดงสามารถอยู่ร่วมกับ ดอกไม้ทะเล (sea anemone) ได้ โดยที่ปลา เหล่านี้จะอาศัยดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบ ภัยและสืบพันธุ์ ส่วนดอกไม้ทะเลจะได้รับ ประโยชน์จากปลาโดยการล่อเหยื่อหรือชัก นำเหยื่อให้เข้ามาใกล้พอที่ดอกไม้ทะเล จะจับเป็นอาหารได้
ดอกไม้ทะเลมีหนวดอยู่เป็นจำนวนมากและ ที่บริเวณปลายหนวดของมันจะมีเข็มพิษหรือ ที่เรียกว่า "นีมาโตซีส" (Nematocyst) อยู่เป็นจำนวน มาก นอกจากเข็มพิษนี้แล้ว บริเวณหนวดของดอกไม้ ทะเลอาจ มีเมือกเหนียว ๆ อยู่ด้วย เวลาที่ปลาว่ายเข้า มาใกล้ตัวมันจะใช้หนวดพันปลาไว้ แล้ว จะปล่อยเข็มพิษ ทำให้ปลาสลบหรือช็อคตายแล้ว กินปลานั้นเป็นอาหาร
สำหรับเข็มพิษของดอกไม้ทะเลเหล่านี้ไม่ เป็นอันตรายต่อปลาการ์ตูน ปลาอินเดียแดงหรือปลาที่ อยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลเหล่านี้ เพราะปลาดัง กล่าวมีสารเคมีที่มีลักษณะเป็นเมือกหุ้ม ตัวอยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นลักษณะที่ธรรมชาติสรรค์ สร้างให้มันอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยทั่ว ๆ ไปดอกไม้ ทะเลอาจไม่มีพิษกับคน ยกเว้นในกรณีของ บางคนอาจมีอาการแพ้เกิดขึ้นถ้าไป สัมผัสเข้า โดยจะเกิดผื่นแดง และมีอาการคันหรือ บวมได้
 
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011552.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011563.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011554.JPG


4. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็มเป็นสัตว์เปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก เพื่อป้องกัน อันตราย และใช้ยึดขโครงร่างแข็งที่ไม่ใช่กระดูกอยู่ภายในลำตัว และ บางชนิดมีองกล้ามเนื้อ เช่น หอย หมึก กุ้ง หนอนทะเล และ ฟองน้ำ ว่าเป็น สัตว์กลุ่มใหญ่ในทะเลและมหาสมุทร สัตว์จำพวกนี้ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปทั้งขนาด รูปร่าง ที่ อยู่อาศัย และอุปนิสัยในการกินอาหาร บางชนิดมี อันตราย แต่หลายชนิดก็มีประโยชน์ และมีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจ สัตว์เหล่านี้ ได้แก่ สัตว์ในไฟลั่ม โพริเฟอร์รา (Phylum Porifera) ไฟลั่มซีเลนเท อราต้า (Phylum Coelenterata) ไฟลั่มมอลลัสกา (Phylum Mollusca) ไฟลั่มอาร์โทรโปดา (Phylum Arthropoda) และ ไฟลั่มเอคไคโนเดิร์มมาต้า (Phylum Echinodermata) เป็นต้น
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011561.JPG



5. ปลาเศรษฐกิจ ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนเป็นบริเวณที่ค่อนข้างมีปลาชุกชุม และปลาหลายชนิดเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับประเภทของปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ

1. พวกที่นำมาเป็นอาหาร ส่วนมากเป็นปลาที่พบเห็นโดยทั่วไป และชาวประมงจับขึ้นมาเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากปลาเศรษฐกิจที่นำมาเป็นอาหารนั้นมีจำนวนมาก ฉะนั้นเราจึงขอแนะนำให้รู้จักเพียงบางชนิด เช่น ปลากะรัง หรือที่เรียกกันว่า "ปลาเก๋า" นอกจากนี้ก็มีปลากะพง ชนิดต่าง ๆ ปลาอีคุด ปลาสีขน ปลาสร้อยนกเขา และ ปลาหูช้าง เป็นต้น


2. พวกที่นำมาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม ส่วนมากเป็นที่อาศัยอยู่ในบริเวณปะการัง ได้แก่ ปลาสลิดทะเล ปลานกแก้ว ปลานกขุนทอง ปลาสินสมุทร ปลาผีเสื้อ ปลาข้าวเม่าน้ำลึก ปลาเหล่านี้นอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้ว ปัจจุบันยังนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามด้วย ทำให้มีราคาค่อนข้างแพง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ฉะนั้นเราจึงจัดปลาสวยงามเหล่านี้ไว้ในกลุ่มปลาเศรษฐกิจด้วย ปลาในกลุ่มนี้มีลักษณะหลายแบบแตกต่างกันออกไป บางชนิดมีลวดลายและสีสันที่เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและเพื่ออำพรางศัตรู เช่น ปลาผีเสื้อปากยาว เป็นต้น จะสังเกตเห็นว่าครีบหลังมีจุดดำขนาดใหญ่ ซึ่งนักมีนวิทยาสันนิษฐานว่าจุดดำขนาดใหญ่ที่อยู่ตรงครีบหลังของปลาผีเสื้อปากยาวนั้นมีลักษณะดูคล้ายกับตาของปลาที่มีขนาดใหญ่จึงทำให้ปลาอื่น ๆ ไม่กล้าเข้ามาทำอันตราย
นอกจากนี้แล้วม้าน้ำซึ่งเป็นปลาที่มีรูปร่างแปลกจัดเป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งด้วย เพราะนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้และยังส่งเป็นสินค้าออกในรูปของการตากแห้ง เพราะว่าม้าน้ำนี้ใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของยาจีน
ม้าน้ำ เป็นปลาที่มีลักษณะพิเศษ คือ ม้าน้ำตัวผู้จะมีถุงหน้าท้องเป็นที่สำหรับฟักไข่ที่ได้รับการผสมด้วยเชื้อตัวผู้แล้ว นอกจากนี้ยังเป็นที่สำหรับให้ตัวอ่อนของลูกม้าน้ำเจริญเติบโตอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกว่ามันจะช่วยตัวเองได้ จึงจะออกมาอาศัยอยู่ภายนอก 
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011568.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011572.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011579.JPG

6. ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ ปลาบางชนิดมีรูปร่างแปลก โดยมีรูปร่างหรือสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อหลบหลีกศัตรูหรือพรางตาเหยื่อ ปลาบางจำพวกนอกจากมีรูปร่างแปลกแล้ว ยังมีสีสันสวยงามและมีพิษด้วย ปลาประเภทนี้มีประมาณ 500 ชนิด รวมถึงปลาบางชนิดที่รับประทานแล้วเป็นพิษต่อมนุษย์
โดยทั่วไปปลาทะเลต่าง ๆ นั้นมีรูปร่างผิดแปลกแตกต่างกันไปตามอุปนิสัยการกินอาหารการหลบซ่อนตัว หรือการอยู่อาศัย บางชนิดมีรูปร่างแบนลง เพื่อให้เหมาะสมกับการหากินบริเวณหน้าดิน เช่น ปลากระเบน ปลาลิ้นหมา ปลาวัว ปลาไหลทะเล ปลาปักเป้า ปลาสิงโต ปลาเหาฉลาม ปลาฉลามกบหรือฉลามแมว ปลาอุบ และ ปลากะรังหัวโขน เป็นต้น
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011580.JPG http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/aq/R0011584.JPG

7. ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร ในทะเลและมหาสมุทรมีปลาขนาดใหญ่หลายชนิดอาศัยอยู่ มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ปลาที่มีขนาดเล็กรวมทั้งพวกที่มีสีสันสวยงามหลายพวก มักจะอาศัยอยู่ใกล้ฝั่งหรืออยู่ในที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีที่กำบังและหลบภัย อาศัยอยู่มากในช่วงความลึกไม่เกิน 1,000 เมตร จากผิวน้ำ ได้แก่ ปลาที่เรารู้จักดี เช่น ปลาโอ ปลากะพงขาว ปลาหมอทะเล ปลาอินทรีย์ ปลากระเบน ปลาหมอทะเล ปลาฉลาม เป็นต้น ปลาอีกหลายชนิดอาศัยอยู่ลึกลงไปเกือบถึงพื้นสมุทร ซึ่งลึกประมาณ 2,000 เมตร เช่น ปลาคอด เป็นต้น
สัตว์มีชีวิตใต้ท้องทะเล

ข้อมูลใต้ทะเล

 ณ ห้วงน้ำสีน้ำเงินอันกว้างใหญ่ไพศาล อาณาจักรท้องทะเลที่ครอบคลุมถึง 3 ใน 4 ส่วนของพื้นที่โลก จึงเปรียบโลกใต้ทะเลดังมารดาของสรรพสิ่ง ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ที่ไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า ไปจนถึงชีวิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ภายใต้ท้องทะเลจึงเต็มไปด้วย ความหลากหลายของชีวิต ที่มีจำนวนมากมายมหาศาล โลกใต้ทะเลจึงเป็นแหล่งรวมธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ และทรงคุณค่าที่สุดแห่งหนึ่งของมนุษยชาติ.
โลกใต้ทะเล
ฉลามวาฬ ยักษ์ใหญ่ใจดีแห่งท้องทะเลกว้าง รูปร่างมหึมา ราวกับลำเรือขนาดย่อม แหวกว่ายไปมากลางทะเลลึก
หากินแพลนตอน ใครจะเชื่อว่า นี่คือปลาที่มีขนาดใหญ่
ที่สุดในโลก และสามารถพบได้ในน่านน้ำทะเลไทย


ริเชลิว
กองหินริเชลิว เป็นหินโผล่น้ำในยามน้ำลด ลักษณะเป็นภูเขาใต้น้ำตั้งอยู่ห่างจากหมู่เกาะสุรินทร์ มาทางฝั่งทับละมุราว 10 กิโลเมตร ด้วยทำเลที่ตั้งซึ่งอยู่ในแนวพัดผ่านของกระแสน้ำที่พาแพลงตอน อันเป็นอาหารของฝูงปลา และสัตว์ทะเล จึงเป็นอาหารของสรรพชีวิตมากมายตั้งแต่กุ้งชนิดต่างๆ ทากทะเล ม้าน้ำ ปลาสวยงามชนิดต่างๆ ไปจนถึงปลาใหญ่อย่างฝูงปลาสาก ปลากะมงที่ชุมนุมกัน นับร้อยพัน และเป็นจุดที่พบฉลามวาฬ ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้บ่อยครั้งที่สุดในบรรดาแหล่งดำน้ำ ของท้องทะเลไทย

วันเวลาที่แนะนำ
การดำน้ำดูฉลามวาฬสามารถทำได้ดีในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนธันวาคมถึงเมษายน จุดที่พบบ่อยคือบริเวณกองหินริเชลิว และเกาะตาชัยในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

การเดินทาง
จุดใกล้ที่สุดที่สามารถเดินทางได้คือจากท่าเทียบเรือหมู่เกาะสุรินทร์ อำเภอคุระบุรี ที่อยู่ห่างจากตัวอำเภอราว 8 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ขึ้นไปทางกิ่งอำเภอสุขสำราญราว 6 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายมืออีกราว 2 กิโลเมตรสู่ท่าเรือ โดยต้องใช้เรือที่มีบริการดำน้ำลึก

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติของผู้จัดทำ

1.   ชื่อ-สกุล  นายสุทธิพงศ์   คงอินร์

เลขที่ 26

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 307

โรงเรียนชะอวด

วัน/เดือน/ปี เกิด

วันเสาร์ ที่18 เดือนมกราคม  ปี2540

อายุ 15ปี





2.   ชื่อ-สกุล  นายยุทธชัย      เพ็งจันท่ร์

เลขที่  18

ชั่นมัธยมศึกษาปีที่  307

โรงเรียนชะอวด

วัน/เดือน/ปี/เกิด

วันพฤหัสบดี ที่16 เดือนตุลาคม ปี2540

อายุ15