animlสัตว์มีชีวิตใต้ท้องทะเล

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีรักษา


โน๊ตจากภาพ: Tunicates ที่เดินทางข้ามมหาสมุทรจากประเทศญี่ปุ่นสู่ทวีปอเมริกาเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2513

Source: Popular Science May 2011

ทะเลของเราทุกวันนี้กำลังตกอยู่ในปัญหา ประชากรปลาของโลกลดลงไปถึงเกือบร้อยละ 90 ปะการัง
ทั่วโลกตายไปถึงหนึ่งในสาม เขตมรณะในมหาสมุทธ หรือ Dead Zone ขยายพื้นที่ไปตามบริเวณต่างๆ
ทั่วโลก แม้ว่าสถานการณ์ในตอนนี้จะอยู่ในขั้นวิกฤติ แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ เหตุผลที่ทำให้มนุษยชาติ
ยังคงมีความหวังในการที่จะหาทางแก้ไขปัญหา และกู้มหาสมุทรของเรากลับคืนมา OSTC ขอนำเสนอ
บทความชุด “7วิธี รักษาท้องทะเล” เพื่อให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงปัญหา และวิธีการแก้ไข ก่อนที่จะเสีย
ทรัพยากรทะเลอย่างไม่มีวันย้อนคืนกลับมา

1. หยุดเติมสารพิษลงสู่ท้องทะเล (คลิ๊กเพื่อย้อนอ่านอันดับ 1)

2. เพิ่มราคาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (
คลิ๊กเพื่อย้อนอ่านอันดับ 2)

3. ซ่อมแซมวัฏจักรของน้ำ (
คลิ๊กเพื่อย้อนอ่านอันดับ 3)



4. หยุดยั้งพันธุ์พืชและสัตว์ผู้บุกรุก

ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ถ้าคุณดึงเชือกที่แช่อยู่ในน้ำบริเวณท่าเรือชายฝั่งของแหลม Cape Cod คุณจะพบหอยแมลงภู่ เพรียง และสาหร่ายเกาะติดขึ้นมากับเชือกเป็นจำนวนมาก แต่ในวันนี้ คุณจะพบเพียงแค่เพรียงจำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง หรือ  Tunicate เกาะอยู่รอบๆ เชือกเท่านั้น Tunicate เป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งที่กำลังบุกรุกไปยังท้องทะเลทั่วโลก สัตว์จำพวกนี้แพร่กระจายไปทั่วโลกโดยการติดไปกับเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ นอกจาก Tunicate แล้ว พันธุ์พืชและสัตว์ผู้บุกรุกยังมี Lionfish ที่พบได้มากตามเขตตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐฯ และ Mangrove tree ในหมู่เกาะฮาวาย พันธุ์พืชและสัตว์จำพวกนี้กำลังก่อปัญหาให้กับพันธุ์พืชและสัตว์ท้องถิ่น ทั้งในด้านการแย่งชิงแหล่งอาหาร การรบกวนระบบการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตในเขตนั้นๆ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสัตว์และพืชท้องถิ่น

Tunicate เป็นตัวอย่างชัดเจนของพันธุ์สัตว์ผู้บุกรุกที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม Mary Carman นักวิจัยจากสถาบัน  Woods Hole กล่าวว่า มีการค้นพบการแพร่กระจายพันธุ์สัตว์ประเภทนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ที่เขต New England ประเทศสหรัฐฯ โดยผ่านเรือขนส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่น Tunicate บางสายพันธุ์บุกรุกแนวหญ้าทะเลและขับไล่หอยเชลล์ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจหลักของท้องถิ่นนั้นออกไปจากพื้นที่ การกำจัด Tunicate เป็นไปได้ยาก เพราะหากไม่สามารถกำจัด Tunicate ออกไปจากพื้นที่ได้อย่างสิ้นเชิง Tunicate ที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดก็สามารถเติบโตและแพร่กระจายต่อได้อย่างรวดเร็ว

Jame Carlton จาก Williams College กล่าวว่า การระงับการแพร่กระจายของสัตว์จำพวกนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากๆ แม้ในบางครั้งที่การแพร่กระจายถูกค้นพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งก็มิได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การกำจัด Tunicate ยังทำได้ยาก ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ.2543 นักประดาน้ำคนหนึ่งได้สังเกตุพบพันธุ์สาหร่ายผู้บุกรุกที่เพิ่งถูกทิ้งลงไปในทะเลสาปของเขต San Diego ประเทศสหรัฐฯ ผู้รับผิดชอบต้องใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 6 ปี และงบประมาณอีกจำนวน 7 ล้านเหรียญสหรัฐในการกำจัดพันธุ์สาหร่ายผู้บุกรุกไปได้

วิธีลดปริมาณพันธุ์พืชและสัตว์ผู้บุกรุกที่ดีที่สุดสามารถทำได้โดยการป้องกันไม่ให้พันธุ์พืชและสัตว์เหล่านั้นเข้ามาในพื้นที่ตั้งแต่ตอนแรก โดยส่วนมากพันธุ์พืชและสัตว์ผู้บุกรุกจะติดมากับน้ำใต้ท้องเรือขนส่งสินค้าที่เดินทางมายังประเทศสหรัฐฯ จำนวนประมาณ 1 แสนลำในทุกๆ ปี ในตอนนี้  EPA และ Coast Guard  กำลังร่างเกณฎ์บังคับเกี่ยวกับน้ำใต้ท้องเรือ โดยการกำหนดระดับจำนวนพันธุ์สัตว์และพืชที่ติดมากับน้ำใต้ท้องเรือ ในขณะเดียวกัน บริษัทต่างๆ ก็กำลังพัฒนาวิธีการจัดการกับน้ำใต้ท้องเรือเพื่อให้ผ่านเกณฎ์มาตรฐานดังกล่าว ตัวอย่างวิธีการจัดการ เช่น การใช้เครื่องกรองน้ำที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และการฉายรังสีอัลตราไวโอเลต แต่สำหรับพืชและสัตว์ผู้บุกรุกที่ตั้งรกรากแล้ว สิ่งที่ทำได้คือการจำกัดจำนวนของพืชและสัตว์นั้นๆ การบริโภคพืชและสัตว์นั้นๆ ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง โดยในปี พ.ศ. 2552 The National Oceanic and Atmospheric Administration ได้จัดทำโครงการส่งเสริมให้ชาวประมงและผู้ประกอบธุรกิจอาหารนำ Lionfish มาปรุงเป็นอาหาร

5. ปกป้องแนวปะการัง (คลิ๊กเพื่อย้อนอ่านอันดับ 5)

6. จับปลาอย่างฉานฉลาด (คลิ๊กเพื่อย้อนอ่านอันดับ 6)

7. เพิ่มเติมความรู้ให้แก่ประชาชน (คลิ๊กเพื่อย้อนอ่านอันดับ 7)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น